วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554
ประวัติส่วนตัว
วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554
แผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ14101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วย : Talk about yourself ภาคเรียนที่ ………. ปีการศึกษา.................
เรื่อง : About me 2 เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ …………… เดือน………………พ.ศ………….. ครูผู้สอน นางพิมพรรณ ใจซื่อ

มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
ตัวชี้วัด
ต 1.1 ป 4/2 อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่าย ๆ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้องตามหลักการอ่าน
ป 4/3 เลือก/ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้น ๆ ที่ฟังหรืออ่าน
ต 1.2 ป 4/5 พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่าง ๆ ตามแบบที่ฟัง
ต 1.3 ป 4/1 พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว
สาระสำคัญ
การพูดและเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เป็นทักษะที่นักเรียนต้องฝึก เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารกับสถานการณ์อื่น ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถตอบคำถามจากการอ่านบทสนทนาง่าย ๆได้
2. นักเรียนสามารถเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเองได้
สาระการเรียนรู้ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
1. Vocabulary : get up, go to school, study, take a bath, play, sleep, have breakfast, read, newspaper, drink coffee, work, every, day, week, month, year
2. Structure : What do you do everyday? Everyday I take a bath.
When do you have breakfast? I have breakfast in the morning.
3. Function : Talking about yourself
4. Culture : -
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1.นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในความคิด
สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 วันที่25 เดือน พฤษภาคม 2553
1. ขั้นนำ (Warm up)
1.1 ครูถามนักเรียนว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้าง แล้วให้คำชมเชยนักเรียนที่ตอบคำถาม ครูแจ้งจุดประสงค์ในการเรียนให้กับนักเรียน
2.ขั้นนำเสนอ (Presentation)
2.1 ครูสอนคำศัพท์ใหม่ให้กับนักเรียนโดยใช้บัตรคำศัพท์
2.2 ครูอ่านออกเสียงแถบประโยคแล้วให้นักเรียนอ่านตาม พร้อมบอกความหมาย
3. ขั้นฝึก (Practice)
3.1 นักเรียนฝึกอ่านแถบประโยคพร้อม ๆ กัน
3.2 นักเรียนทำแบบฝึกที่ 2
3.3 นักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกที่ 2 กับครู
4. ขั้นนำไปใช้ (Production)
แต่งประโยคคนละ 2-3 ประโยค โดยดูตัวอย่างจากประโยคที่ฝึกมา
5. ขั้นสรุป (Wrap up)
นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนคำศัพท์กิจวัตรประจำวันที่นักเรียนทำเป็นประจำอีกครั้ง
ชั่วโมงที่ 2 วันที่25 เดือน พฤษภาคม 2553
1. ขั้นนำ (Warm up)
1.1 ครูเขียนเนื้อเพลง “It’s time to get up” ลงบนกระดานแล้วพานักเรียนร้องเพลง 1.2 ครูแจ้งนักเรียนว่าวันนี้เราจะมาเรียนการใช้คำถาม คำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำเป็นกิจวัตรหรือทำเป็นประจำ
2.ขั้นนำเสนอ (Presentation)
2.1 ครูเขียนประโยค “What do you do everyday?” และ “Everyday I take a bath.”บนกระดาน แล้วพานักเรียนอ่านออกเสียง จากนั้นอธิบายความหมายของประโยคคำถาม และประโยคคำตอบ ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า Everyday แปลว่า ทุกวัน คำว่า every แปลว่า ทุก ๆ ซึ่งใช้กับสิ่งที่ทำเป็นประจำ เราอาจเปลี่ยนจากคำว่า everyday เป็น every week, every month, every year ก็ได้ ส่วนการถามถึงว่าเราทำอะไรเมื่อไรนั้น ให้ใช้ประโยค When do you ………..? โดยให้นักเรียนดูตัวอย่างบทสนทนาในใบความรู้ที่ 1
2.2 ครูพานักเรียนอ่านบทสนทนาในใบความรู้ที่ 1
3. ขั้นฝึก (Practice)
3.1 นักเรียนฝึกอ่านประโยคคำถามและประโยคคำตอบเป็นคู่
3.2 นักเรียนจับคู่กันออกมาอ่านบทสนทนาให้ครูฟัง
3.3 ครูประเมินการอ่านของนักเรียน
3.4 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
4. ขั้นนำไปใช้ (Production)
นักเรียนสัมภาษณ์คนที่นักเรียนรู้จัก เช่น ครูในโรงเรียน เพื่อนบ้านเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันที่ทำใน 1 วัน ส่งครู
5. ขั้นสรุป (Wrap up)
นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนประโยคคำถาม คำตอบเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันและคำศัพท์ในบทเรียนอีกครั้ง
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. เพลง “It’s time to get up.”
2. บัตรคำศัพท์
3. ใบความรู้ที่ 1
3. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัว
4. แบบทดสอบหลังเรียน
การวัดประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด | วิธีการ | เครื่องมือ | เกณฑ์การวัด |
1. การอ่านบทสนทนา 2. การทำแบบฝึก 3. การทำแบบทดสอบหลังเรียน | 1. สังเกตพฤติกรรมการอ่าน 2. ตรวจแบบฝึก 3. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน | 1. แบบบันทึกคะแนนการอ่าน 2. แบบฝึกที่ 2 3. แบบทดสอบหลังเรียน | ผ่านระดับดี ผ่านระดับร้อยละ 70 ผ่านระดับร้อยละ 70 |
เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมการอ่านออกเสียง
รายการประเมิน | คำอธิบายระดับคุณภาพ | |||
4 (ดีมาก) | 3 (ดี) | 2 (พอใช้) | 1 (ปรับปรุง) | |
การอ่านออกเสียง | อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก การออกเสียง ตลอดการอ่านทั้งหมด | มีข้อบกพร่องบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่สามารถอ่าน ออกเสียงถูกต้องตามหลักการออกเสียง | มีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก มีบางส่วนที่ออกเสียง ไม่ถูกต้องตาม หลักการออกเสียง | มีข้อบกพร่องมากส่วนใหญ่ อ่านออกเสียง ไม่ถูกต้องตามหลักการออกเสียง |
อ่านออกเสียง เน้นเสียง หนักเบา | อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก การออกเสียง มีเน้นหนักในคำ/ประโยคอย่างถูกต้อง | อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก การออกเสียง มีเน้นหนักในคำ/ประโยคเป็น ส่วนใหญ่ | อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก การออกเสียง มีเน้นหนักในคำ/ประโยคบ้าง สื่อสารได้พอสมควร | อ่านออกเสียงคำ/ประโยคไม่ถูกต้อง แต่ยังสามารถสื่อสารได้ |
อ่านออกเสียง เว้นวรรคตอน ได้ถูกต้อง | อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้อย่างถูกต้อง | อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้ เป็นส่วนใหญ่ | อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้บ้าง | อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอน ผิดมาก |
ความถูกต้อง ของคำศัพท์ สำนวน และประโยค | อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้องตลอด การอ่านออกเสียง | อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้อง โดยมีข้อบกพร่องเล็กน้อย | อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้อง โดยมีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก | มีข้อบกพร่องในการอ่านคำศัพท์ ส่วนใหญ่อ่าน ไม่ถูกต้อง |
คะแนนตัดสินระดับคุณภาพ
คะแนน ระดับคุณภาพ
14 - 16 ดีมาก
11 - 13 ดี
8 - 10 พอใช้
1 - 8 ปรับปรุง
กิจกรรมเสนอแนะ
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.................................................. ผู้ตรวจ
(...................................................)
ผู้อำนวยการโรงเรียน.........................................
วันที่........เดือน..................................พ.ศ. ..............
บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ผลการสอน.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา/อุปสรรค........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ข้อเสนอแนะ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.................................................ผู้สอน
(..............................................)
ตำแหน่ง ……………………………………..
วัน………… เดือน …………………….. พ.ศ. …………………
นวัตกรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ
การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก - การทํา ปุ๋ยอินทรีย์
มาทำปุ๋ยใช้กันเถอะ
เชื่อหรือไม่ ว่าเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ที่เหลือจากในครัวหรือในสวนมิได้เป็นเพียงขยะไร้ค่า หากแต่สามารถนำมาผ่านขั้นตอนกระบวนการเพื่อผลิตปุ๋ยใช้ได้ในราคาถูก นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้วยังประหยัดเงิน แถมยังทำให้ต้นไม้ในสวนเจริญเติบโตงอกงามได้ด้วยมือของคุณเอง ลองนำสูตรและเคล็ดลับดีๆจากประสบการณ์การทำปุ๋ยโดยมืออาชีพทั้ง 3 ท่านไปใช้ดู รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด
ปุ๋ยหมัก
คุณภาวนา ลิกขนานนท์ นักวิชาการเกษตร 8 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร
"การ ใช้ปุ๋ยหมักนั้นไม่ควรมุ่งหวังว่าจะทดแทนธาตุอาหารได้เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี หากแต่ช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้หาอาหารได้ง่ายขึ้น ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตตามไปด้วย"
วัตถุดิบ
1. เศษพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ทั้งแห้งและสด 100 ส่วน
2. ปุ๋ยคอก 10 ส่วน
3. ปุ๋ยยูเรีย 1 ส่วน *
4. ผงซักฟอก ละลายน้ำเล็กน้อย *
* ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
ขั้นตอน
1. เตรียมพื้นที่วางกองปุ๋ยหมัก อาจขุดหลุมลึกราว 50 เซนติเมตร หรือใช้ถังซีเมนต์ซ้อนกัน 2-3 ชั้นวางตะแกรงในชั้นที่สองเพื่อให้เหลือที่ว่างชั้นล่างสุด เจาะช่องเปิดปิดเพื่อให้นำปุ๋ยหมักออกไปใช้ได้ง่าย
2. นำเศษกิ่งไม้ใบไม้ทั้งสดและแห้งผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว หากใบไม้แห้งเกินไปใช้ผงซักฟอกผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ใบจับกับน้ำได้ดีขึ้น ความชื้นควรอยู่ในระดับที่เมื่อลองกำดูแล้วให้ความรู้สึกมากกว่าหมาดแต่ไม่ ถึงกับปียก
3. ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยยูเรียโรยสลับกันเป็นชั้น ๆ หรือผสมคลุกเคล้ากับวัสดุแล้วใส่ในภาชนะ
4. กดกองวัสดุให้อัดตัวกันแต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป เพื่อให้เกิดความร้อนภายในกอง หมั่นกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้มีการเติมอากาศเข้าไป
5. ระยะเวลาการย่อยสลายของวัสดุขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและกระบวนการที่เกิด ขึ้น อาจอยู่ในราว 1-2 เดือน ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีเข้ม เมื่อใช้มือบดสามารถขาดออกจากกันได้ง่าย มีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ ไม่ฉุนหรือเหม็นรุนแรง หากทำปุ๋ยหมักในถังซีเมนต์สามารถเก็บปุ๋ยที่ร่วงลงมาจากตะแกรงไปใช้ได้ทันที
คุณสมบัติ
ปุ๋ย หมักมีคุณสมบัติเด่นในการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศในดินดีขึ้น ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นในดิน รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ต้นไม้ดูดน้ำและธาตุอาหารในดินได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเร่งการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน คุณสมบัติเด่นอีกประการคือ ช่วยยึดธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า ๆ
การใช้งาน
ใส่รองก้นหลุม หรือโรยรอบ ๆโคนต้น แล้วพรวนดินให้ผสมคลุกเคล้ากันได้ดี ปริมาณที่ใช้สามารถใส่ได้ไม่จำกัด เนื่องจากไม่มีปริมาณธาตุอาหารสูงจนเป็นพิษกับพืช หากใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
Tips
1. เปลือกถั่ว ฟางข้าว ผักตบชวา ใบไม้แห้ง หญ้า สลายตัวได้เร็ว ส่วนขี้เลื่อย แกลบ ชานอ้อยข้าวโพด สลายตัวช้า จึงไม่ควรนำทั้งสองประเภทมาหมักรวมกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยที่ย่อยสลายไม่สม่ำเสมอ
2. ควรหมักหญ้าผสมกับวัสดุอื่น เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ เพราะหากใช้หญ้าอย่างเดียวจะเกิดการอัดตัวสานไปมาของหญ้าจนไม่มีอากาศภายใน กองวัสดุ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดจุลินทรีย์ได้
น้ำหมักฮอร์โมนพืช
คุณธนูศักดิ์ คงธรรม ข้าราชการบำนาญ
"สูตรที่ผมทำนั้นเน้นการใช้ผลไม้สดเป็นหลัก ได้น้ำหมักที่มีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตในแง่การออกดอกและติดผล"
วัตถุดิบ
1. ผลไม้สด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทอง และแครอท 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 500 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 แก้วน้ำ)
4. น้ำสะอาด
ขั้นตอน
1. ล้างผลไม้ให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ผสมผลไม้ น้ำตาลอ้อย และหัวเชื้อจุลินทรีย์คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. นำผลไม้ที่ผสมแล้วบรรจุลงในถุงตาข่าย จากนั้นนำไปวางในถังพลาสติกมีฝาปิดขนาดบรรจุ 20 ลิตร ติดก๊อกน้ำไว้ด้านล่างเพื่อให้ไขน้ำหมักออกมาใช้ได้
4. ปิดฝาถังทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะมีน้ำไหลออกมาจากถุงตาข่าย และมีฝ้าสีขาว (หากเกิดฝ้าสีอื่นแสดงว่าการขยายเชื้อไม่ได้ผล แต่นำไปใช้รดต้นไม้ได้) เติมน้ำเพิ่มลงไป 1 เท่า กวนให้เข้ากัน ระวังอย่าให้แมลงลงไปไข่ เพราะจะทำให้เกิดหนอนได้
5. ปิดฝาทิ้งไว้ 30 วัน ระหว่างนั้นกวนเป็นครั้งคราว น้ำที่ได้จะมีสีค่อนข้างใส กลิ่นหอมอมเปรี้ยวคล้ายไวน์
คุณสมบัติ
มีรายงานผลการวิเคราะห์น้ำหมักที่ได้ว่ามีฮอร์โมนพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช กระตุ้นการออกดอกและติดผล
การใช้งาน
นำ น้ำหมักที่ได้ผสมน้ำในสัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ในช่วงก่อนแทงช่อดอก จะทำให้เกิดจำนวนช่อดอก ติดดอกและผลดีขึ้น โดยฉีดทรงพุ่มโดยตรง หรือรดโคนต้น สามารถนำไปใช้ในการเร่งรากกิ่งตอน และกิ่งปักชำได้ ข้อควรระวังคือสัดส่วนความเข้มข้นของน้ำหมักและน้ำหากผสมมากเกินไปจะส่งผลทำ ให้ใบพืชไหม้ได้ วิธีแก้คือใช้น้ำรดซ้ำเพื่อให้เจือจางลง
Tip
ทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์เองได้ง่าย ๆโดยนำปลือกสับปะรด 5 กิโลกรัมมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ผสมกับน้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม และน้ำมะพร้าวแก่ 1 1/2 ถ้วย บรรจุลงถุงตาข่ายใส่ถังปิดฝา ประมาณ 7 วัน หากมีฝ้าขาว กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่าใช้ได้ เติมน้ำตาลอ้อยและน้ำมะพร้าวเท่าเดิมลงไป แล้วเติมน้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วัน จึงนำมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งใช้แทนหัวเชื้ออีเอ็มได้
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ-ขยะหอม
คุณจิราภรณ์ คงธรรม อดีตพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี
"จุด เริ่มต้นของดิฉันคือ ต้องการลดจำนวนขยะในบ้าน ทั้งเศษผัก ผลไม้ที่เหลือจากการรับประทาน พอนำมาทำน้ำหมักใช้กับต้นไม้ก็เห็นผลด้วยตัวเองว่าต้นไม้มีการเจริญเติบโตดี จนตอนนี้กลายมาเป็นโครงการลดขยะในชุมชนที่ได้รับความสนใจจากคนในหมู่บ้านหัน มาปฏิบัติตามเช่นกันค่ะ"
วัตถุดิบ
1. เศษผักผลไม้ 3 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์
4. น้ำสะอาด
ขั้นตอน
1. นำเศษผักผลไม้ที่มีในครัวเรือนทั้งเปลือก ใบ ผล และเมล็ด ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้กากน้ำตาลซึ่งค่อนข้างข้นควรกวนให้เข้ากัน
2. นำใส่ถุงตาข่ายหรือถุงปุ๋ยวางลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้เรียบร้อย
3. ประมาณ 10 วันจะได้น้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา ให้เติมน้ำลงไป 5 เท่า ของปริมาตรน้ำจุลินทรีย์ที่ได้ กดให้จมน้ำ หากลอยขึ้นมาจะทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ เกิดกลิ่นเหม็นได้
4. สามารถเติมขยะสดเพิ่มลงไปได้ทุกวัน น้ำที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ส่วนกากสามารถนำไปตากให้แห้งโรยเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไปได้
คุณสมบัติ
นอก จากมีธาตุอาหารที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยสำหรับพืช ทำให้ดินร่วนซุย และพัฒนาการเจริญเติบโตของพืช
การใช้งาน
ผสมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่น หรือรดลงในดินสัปดาห์ละครั้ง ข้อควรระวังคือหากการหมักยังไม่สมบูรณ์ ปริมาณกรดและน้ำตาลยังสูงอยู่จะส่งผลเป็นพิษต่อพืช
Tips
1. หากผสมสมุนไพร เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี หรือพริกขี้หนู โดยใส่ผงสมุนไพร 2 - 5 ช้อนโต๊ะ ลงไปในส่วนผสมของขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่แรกจะสามารถใช้เป็นสารไล่ แมลงได้ด้วย
2. สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในการบำบัดน้ำเสีย และกำจัดคราบไขมันอุดตันในท่อ โดยใช้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 :10 เทใส่ในท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดไขมัน บ่อน้ำเสีย ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วจึงราดน้ำตาม
3. ไม่ควรเก็บปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ในที่ที่โดนแดด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6 เดือน
4. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีธาตุอาหารค่อนข้างน้อย แต่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงโครงสร้าง และคุณภาพดิน ดังนั้นจึงอาจใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงต้นไม้
คุณรู้หรือไม่
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ? ปุ๋ยชีวภาพ
ความ หมายของ ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยนั้นต้องมีสิ่งมีชีวิตและทำหน้าที่สร้างธาตุอาหารให้ดิน เช่น ไรโซ เบียม (Rhizobium spp.) และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มายคอร์ไรซา (Mycorrhiza spp.) ช่วยดูดซึมฟอสฟอรัส และแบซิลลัส (Bacillus spp.)ให้ธาตุโพแทสเซียม เป็นต้น ปุ๋ยชีวภาพควรมีข้อความระบุบนฉลากดังนี้ ชื่อจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตต่อน้ำหนักปุ๋ย ชนิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เปอร์เซ็นต์ความชื้น วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือตามที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่าน้ำหมักชีวภาพนั้น แม้จะมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบ แต่หน้าที่หลักคือย่อยสลายเศษซากพืช หรืออินทรียวัตถุในดิน ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น โดยที่ตัวมันเองมีธาตุอาหารอยู่เพียงเล็กน้อย การเรียกปุ๋ยเหล่านี้ว่า "ปุ๋ยชีวภาพ" จึงไม่ถูกต้องนัก
ที่มา http://www.baanlaesuan.com
มาทำปุ๋ยใช้กันเถอะ
เชื่อหรือไม่ ว่าเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ที่เหลือจากในครัวหรือในสวนมิได้เป็นเพียงขยะไร้ค่า หากแต่สามารถนำมาผ่านขั้นตอนกระบวนการเพื่อผลิตปุ๋ยใช้ได้ในราคาถูก นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้วยังประหยัดเงิน แถมยังทำให้ต้นไม้ในสวนเจริญเติบโตงอกงามได้ด้วยมือของคุณเอง ลองนำสูตรและเคล็ดลับดีๆจากประสบการณ์การทำปุ๋ยโดยมืออาชีพทั้ง 3 ท่านไปใช้ดู รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด
ปุ๋ยหมัก
คุณภาวนา ลิกขนานนท์ นักวิชาการเกษตร 8 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร
"การ ใช้ปุ๋ยหมักนั้นไม่ควรมุ่งหวังว่าจะทดแทนธาตุอาหารได้เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี หากแต่ช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้หาอาหารได้ง่ายขึ้น ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตตามไปด้วย"
วัตถุดิบ
1. เศษพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ทั้งแห้งและสด 100 ส่วน
2. ปุ๋ยคอก 10 ส่วน
3. ปุ๋ยยูเรีย 1 ส่วน *
4. ผงซักฟอก ละลายน้ำเล็กน้อย *
* ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
ขั้นตอน
1. เตรียมพื้นที่วางกองปุ๋ยหมัก อาจขุดหลุมลึกราว 50 เซนติเมตร หรือใช้ถังซีเมนต์ซ้อนกัน 2-3 ชั้นวางตะแกรงในชั้นที่สองเพื่อให้เหลือที่ว่างชั้นล่างสุด เจาะช่องเปิดปิดเพื่อให้นำปุ๋ยหมักออกไปใช้ได้ง่าย
2. นำเศษกิ่งไม้ใบไม้ทั้งสดและแห้งผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว หากใบไม้แห้งเกินไปใช้ผงซักฟอกผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ใบจับกับน้ำได้ดีขึ้น ความชื้นควรอยู่ในระดับที่เมื่อลองกำดูแล้วให้ความรู้สึกมากกว่าหมาดแต่ไม่ ถึงกับปียก
3. ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยยูเรียโรยสลับกันเป็นชั้น ๆ หรือผสมคลุกเคล้ากับวัสดุแล้วใส่ในภาชนะ
4. กดกองวัสดุให้อัดตัวกันแต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป เพื่อให้เกิดความร้อนภายในกอง หมั่นกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้มีการเติมอากาศเข้าไป
5. ระยะเวลาการย่อยสลายของวัสดุขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและกระบวนการที่เกิด ขึ้น อาจอยู่ในราว 1-2 เดือน ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีเข้ม เมื่อใช้มือบดสามารถขาดออกจากกันได้ง่าย มีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ ไม่ฉุนหรือเหม็นรุนแรง หากทำปุ๋ยหมักในถังซีเมนต์สามารถเก็บปุ๋ยที่ร่วงลงมาจากตะแกรงไปใช้ได้ทันที
คุณสมบัติ
ปุ๋ย หมักมีคุณสมบัติเด่นในการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศในดินดีขึ้น ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นในดิน รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ต้นไม้ดูดน้ำและธาตุอาหารในดินได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเร่งการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน คุณสมบัติเด่นอีกประการคือ ช่วยยึดธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า ๆ
การใช้งาน
ใส่รองก้นหลุม หรือโรยรอบ ๆโคนต้น แล้วพรวนดินให้ผสมคลุกเคล้ากันได้ดี ปริมาณที่ใช้สามารถใส่ได้ไม่จำกัด เนื่องจากไม่มีปริมาณธาตุอาหารสูงจนเป็นพิษกับพืช หากใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
Tips
1. เปลือกถั่ว ฟางข้าว ผักตบชวา ใบไม้แห้ง หญ้า สลายตัวได้เร็ว ส่วนขี้เลื่อย แกลบ ชานอ้อยข้าวโพด สลายตัวช้า จึงไม่ควรนำทั้งสองประเภทมาหมักรวมกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยที่ย่อยสลายไม่สม่ำเสมอ
2. ควรหมักหญ้าผสมกับวัสดุอื่น เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ เพราะหากใช้หญ้าอย่างเดียวจะเกิดการอัดตัวสานไปมาของหญ้าจนไม่มีอากาศภายใน กองวัสดุ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดจุลินทรีย์ได้
น้ำหมักฮอร์โมนพืช
คุณธนูศักดิ์ คงธรรม ข้าราชการบำนาญ
"สูตรที่ผมทำนั้นเน้นการใช้ผลไม้สดเป็นหลัก ได้น้ำหมักที่มีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตในแง่การออกดอกและติดผล"
วัตถุดิบ
1. ผลไม้สด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทอง และแครอท 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 500 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 แก้วน้ำ)
4. น้ำสะอาด
ขั้นตอน
1. ล้างผลไม้ให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ผสมผลไม้ น้ำตาลอ้อย และหัวเชื้อจุลินทรีย์คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. นำผลไม้ที่ผสมแล้วบรรจุลงในถุงตาข่าย จากนั้นนำไปวางในถังพลาสติกมีฝาปิดขนาดบรรจุ 20 ลิตร ติดก๊อกน้ำไว้ด้านล่างเพื่อให้ไขน้ำหมักออกมาใช้ได้
4. ปิดฝาถังทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะมีน้ำไหลออกมาจากถุงตาข่าย และมีฝ้าสีขาว (หากเกิดฝ้าสีอื่นแสดงว่าการขยายเชื้อไม่ได้ผล แต่นำไปใช้รดต้นไม้ได้) เติมน้ำเพิ่มลงไป 1 เท่า กวนให้เข้ากัน ระวังอย่าให้แมลงลงไปไข่ เพราะจะทำให้เกิดหนอนได้
5. ปิดฝาทิ้งไว้ 30 วัน ระหว่างนั้นกวนเป็นครั้งคราว น้ำที่ได้จะมีสีค่อนข้างใส กลิ่นหอมอมเปรี้ยวคล้ายไวน์
คุณสมบัติ
มีรายงานผลการวิเคราะห์น้ำหมักที่ได้ว่ามีฮอร์โมนพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช กระตุ้นการออกดอกและติดผล
การใช้งาน
นำ น้ำหมักที่ได้ผสมน้ำในสัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ในช่วงก่อนแทงช่อดอก จะทำให้เกิดจำนวนช่อดอก ติดดอกและผลดีขึ้น โดยฉีดทรงพุ่มโดยตรง หรือรดโคนต้น สามารถนำไปใช้ในการเร่งรากกิ่งตอน และกิ่งปักชำได้ ข้อควรระวังคือสัดส่วนความเข้มข้นของน้ำหมักและน้ำหากผสมมากเกินไปจะส่งผลทำ ให้ใบพืชไหม้ได้ วิธีแก้คือใช้น้ำรดซ้ำเพื่อให้เจือจางลง
Tip
ทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์เองได้ง่าย ๆโดยนำปลือกสับปะรด 5 กิโลกรัมมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ผสมกับน้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม และน้ำมะพร้าวแก่ 1 1/2 ถ้วย บรรจุลงถุงตาข่ายใส่ถังปิดฝา ประมาณ 7 วัน หากมีฝ้าขาว กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่าใช้ได้ เติมน้ำตาลอ้อยและน้ำมะพร้าวเท่าเดิมลงไป แล้วเติมน้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วัน จึงนำมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งใช้แทนหัวเชื้ออีเอ็มได้
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ-ขยะหอม
คุณจิราภรณ์ คงธรรม อดีตพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี
"จุด เริ่มต้นของดิฉันคือ ต้องการลดจำนวนขยะในบ้าน ทั้งเศษผัก ผลไม้ที่เหลือจากการรับประทาน พอนำมาทำน้ำหมักใช้กับต้นไม้ก็เห็นผลด้วยตัวเองว่าต้นไม้มีการเจริญเติบโตดี จนตอนนี้กลายมาเป็นโครงการลดขยะในชุมชนที่ได้รับความสนใจจากคนในหมู่บ้านหัน มาปฏิบัติตามเช่นกันค่ะ"
วัตถุดิบ
1. เศษผักผลไม้ 3 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์
4. น้ำสะอาด
ขั้นตอน
1. นำเศษผักผลไม้ที่มีในครัวเรือนทั้งเปลือก ใบ ผล และเมล็ด ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้กากน้ำตาลซึ่งค่อนข้างข้นควรกวนให้เข้ากัน
2. นำใส่ถุงตาข่ายหรือถุงปุ๋ยวางลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้เรียบร้อย
3. ประมาณ 10 วันจะได้น้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา ให้เติมน้ำลงไป 5 เท่า ของปริมาตรน้ำจุลินทรีย์ที่ได้ กดให้จมน้ำ หากลอยขึ้นมาจะทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ เกิดกลิ่นเหม็นได้
4. สามารถเติมขยะสดเพิ่มลงไปได้ทุกวัน น้ำที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ส่วนกากสามารถนำไปตากให้แห้งโรยเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไปได้
คุณสมบัติ
นอก จากมีธาตุอาหารที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยสำหรับพืช ทำให้ดินร่วนซุย และพัฒนาการเจริญเติบโตของพืช
การใช้งาน
ผสมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่น หรือรดลงในดินสัปดาห์ละครั้ง ข้อควรระวังคือหากการหมักยังไม่สมบูรณ์ ปริมาณกรดและน้ำตาลยังสูงอยู่จะส่งผลเป็นพิษต่อพืช
Tips
1. หากผสมสมุนไพร เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี หรือพริกขี้หนู โดยใส่ผงสมุนไพร 2 - 5 ช้อนโต๊ะ ลงไปในส่วนผสมของขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่แรกจะสามารถใช้เป็นสารไล่ แมลงได้ด้วย
2. สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในการบำบัดน้ำเสีย และกำจัดคราบไขมันอุดตันในท่อ โดยใช้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 :10 เทใส่ในท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดไขมัน บ่อน้ำเสีย ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วจึงราดน้ำตาม
3. ไม่ควรเก็บปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ในที่ที่โดนแดด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6 เดือน
4. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีธาตุอาหารค่อนข้างน้อย แต่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงโครงสร้าง และคุณภาพดิน ดังนั้นจึงอาจใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงต้นไม้
คุณรู้หรือไม่
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ? ปุ๋ยชีวภาพ
ความ หมายของ ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยนั้นต้องมีสิ่งมีชีวิตและทำหน้าที่สร้างธาตุอาหารให้ดิน เช่น ไรโซ เบียม (Rhizobium spp.) และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มายคอร์ไรซา (Mycorrhiza spp.) ช่วยดูดซึมฟอสฟอรัส และแบซิลลัส (Bacillus spp.)ให้ธาตุโพแทสเซียม เป็นต้น ปุ๋ยชีวภาพควรมีข้อความระบุบนฉลากดังนี้ ชื่อจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตต่อน้ำหนักปุ๋ย ชนิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เปอร์เซ็นต์ความชื้น วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือตามที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่าน้ำหมักชีวภาพนั้น แม้จะมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบ แต่หน้าที่หลักคือย่อยสลายเศษซากพืช หรืออินทรียวัตถุในดิน ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น โดยที่ตัวมันเองมีธาตุอาหารอยู่เพียงเล็กน้อย การเรียกปุ๋ยเหล่านี้ว่า "ปุ๋ยชีวภาพ" จึงไม่ถูกต้องนัก
ที่มา http://www.baanlaesuan.com
ประวัติและความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้วจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาดทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่ 1 พ.ศ. 2489-2501 เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
- ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
- ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
- ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
- เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
- มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
- สั่งงานได้สะเริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ ดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
ยุคที่ 3 2507-2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
- ประมาณ 1,000 เท่า) ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 2513 - 2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
- ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
http://www.sglcomp.com/in
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)