วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ป. 4

Download คลิกที่นี่

ประวัติคอมพิวเตอร์ยุคที่2 - 5

Download คลิกที่นี่

นวัตกรรมท้องถิ่น

Download คลิกที่นี่

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 1

Download คลิกที่นี่

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางพิมพรรณ ใจซื่อ
ชื่อเล่น ดา
เกิดวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2526
ปัจจุบันอายุ 28 ปี
จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี
เอก ภาษาอังกฤษธุรกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปี 2547
ปัจจุบัน เป็นครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านแม่ทาย ต. ออย อ. ปง จ. พะเยา
สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมปีที่ 1 - 6

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ                                           รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ14101)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                                       
หน่วย :  Talk about yourself                                                          ภาคเรียนที่ ……….   ปีการศึกษา.................
เรื่อง :  About me 2                                                                            เวลา 2 ชั่วโมง   
สอนวันที่ …………… เดือน……………….…………..     ครูผู้สอน นางพิมพรรณ ใจซื่อ
 

มาตรฐาน ต ๑.     เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

                ต .     มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
                ต .     นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
ตัวชี้วัด
ต 1.1      ป 4/2     อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค ข้อความง่าย ๆ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้องตามหลักการอ่าน
4/3      เลือก/ระบุภาพ หรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้น ๆ ที่ฟังหรืออ่าน
                ต 1.2      ป 4/5      พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว และกิจกรรมต่าง ๆ ตามแบบที่ฟัง
                ต 1.3      4/1      พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว
สาระสำคัญ
การพูดและเขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เป็นทักษะที่นักเรียนต้องฝึก เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารกับสถานการณ์อื่น ๆ 

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.       นักเรียนสามารถตอบคำถามจากการอ่านบทสนทนาง่าย ๆได้
2.       นักเรียนสามารถเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเองได้
สาระการเรียนรู้  ภาษาเพื่อการสื่อสาร
1. Vocabulary     :             get up, go to school, study, take a bath, play, sleep, have breakfast, read, newspaper, drink coffee, work, every, day, week, month, year
                2. Structure          :               What do you do everyday?              Everyday I take a bath.
                                                                When do you have breakfast?        I have breakfast in the morning.
                3. Function          :               Talking about yourself
               4. Culture            :              -

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
                1.นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในความคิด
สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
1.       ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1  วันที่25 เดือน พฤษภาคม 2553
1.       ขั้นนำ (Warm up)
        1.1 ครูถามนักเรียนว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้าง แล้วให้คำชมเชยนักเรียนที่ตอบคำถาม ครูแจ้งจุดประสงค์ในการเรียนให้กับนักเรียน
                2.ขั้นนำเสนอ (Presentation)
2.1  ครูสอนคำศัพท์ใหม่ให้กับนักเรียนโดยใช้บัตรคำศัพท์
2.2 ครูอ่านออกเสียงแถบประโยคแล้วให้นักเรียนอ่านตาม พร้อมบอกความหมาย
                3. ขั้นฝึก (Practice)
3.1 นักเรียนฝึกอ่านแถบประโยคพร้อม ๆ กัน
3.2  นักเรียนทำแบบฝึกที่ 2
3.3  นักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกที่ 2 กับครู
                4.  ขั้นนำไปใช้ (Production)
                                แต่งประโยคคนละ 2-3 ประโยค โดยดูตัวอย่างจากประโยคที่ฝึกมา
              5.  ขั้นสรุป  (Wrap up)
                                นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนคำศัพท์กิจวัตรประจำวันที่นักเรียนทำเป็นประจำอีกครั้ง
ชั่วโมงที่ 2   วันที่25 เดือน พฤษภาคม 2553
1. ขั้นนำ (Warm up)
        1.1 ครูเขียนเนื้อเพลง “It’s time to get up” ลงบนกระดานแล้วพานักเรียนร้องเพลง        1.2 ครูแจ้งนักเรียนว่าวันนี้เราจะมาเรียนการใช้คำถาม คำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำเป็นกิจวัตรหรือทำเป็นประจำ
                2.ขั้นนำเสนอ (Presentation)
2.1 ครูเขียนประโยค “What do you do everyday?”  และ “Everyday I take a bath.”บนกระดาน แล้วพานักเรียนอ่านออกเสียง จากนั้นอธิบายความหมายของประโยคคำถาม และประโยคคำตอบ ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า Everyday แปลว่า ทุกวัน คำว่า every แปลว่า ทุก ๆ ซึ่งใช้กับสิ่งที่ทำเป็นประจำ เราอาจเปลี่ยนจากคำว่า everyday เป็น every week, every month, every year ก็ได้ ส่วนการถามถึงว่าเราทำอะไรเมื่อไรนั้น ให้ใช้ประโยค When do you ………..? โดยให้นักเรียนดูตัวอย่างบทสนทนาในใบความรู้ที่ 1
2.2 ครูพานักเรียนอ่านบทสนทนาในใบความรู้ที่ 1
3. ขั้นฝึก (Practice)
3.1 นักเรียนฝึกอ่านประโยคคำถามและประโยคคำตอบเป็นคู่
3.2 นักเรียนจับคู่กันออกมาอ่านบทสนทนาให้ครูฟัง
3.3 ครูประเมินการอ่านของนักเรียน
3.4 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                4.  ขั้นนำไปใช้ (Production)
                                นักเรียนสัมภาษณ์คนที่นักเรียนรู้จัก เช่น ครูในโรงเรียน เพื่อนบ้านเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันที่ทำใน 1 วัน ส่งครู
              5.  ขั้นสรุป  (Wrap up)
                                นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนประโยคคำถาม คำตอบเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันและคำศัพท์ในบทเรียนอีกครั้ง
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
                1. เพลง “It’s time to get up.”
                2. บัตรคำศัพท์
3. ใบความรู้ที่ 1
3. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัว
4. แบบทดสอบหลังเรียน
การวัดประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์การวัด
1. การอ่านบทสนทนา

2. การทำแบบฝึก
3. การทำแบบทดสอบหลังเรียน
1.  สังเกตพฤติกรรมการอ่าน
2. ตรวจแบบฝึก
3. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน

1.  แบบบันทึกคะแนนการอ่าน
2. แบบฝึกที่ 2
3.  แบบทดสอบหลังเรียน
ผ่านระดับดี

ผ่านระดับร้อยละ 70
ผ่านระดับร้อยละ 70





เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมการอ่านออกเสียง
รายการประเมิน
คำอธิบายระดับคุณภาพ
4 (ดีมาก)
3 (ดี)
2 (พอใช้)
1 (ปรับปรุง)
การอ่านออกเสียง
อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก                การออกเสียง  ตลอดการอ่านทั้งหมด
มีข้อบกพร่องบ้างเล็กน้อย  ส่วนใหญ่สามารถอ่าน                     ออกเสียงถูกต้องตามหลักการออกเสียง
มีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก มีบางส่วนที่ออกเสียง ไม่ถูกต้องตาม             หลักการออกเสียง
มีข้อบกพร่องมากส่วนใหญ่                อ่านออกเสียง                       ไม่ถูกต้องตามหลักการออกเสียง
อ่านออกเสียง
เน้นเสียง              หนักเบา
อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก                               การออกเสียง  มีเน้นหนักในคำ/ประโยคอย่างถูกต้อง
อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก                               การออกเสียง  มีเน้นหนักในคำ/ประโยคเป็น                   ส่วนใหญ่
อ่านออกเสียงถูกต้องตามหลัก                               การออกเสียง  มีเน้นหนักในคำ/ประโยคบ้าง สื่อสารได้พอสมควร
อ่านออกเสียงคำ/ประโยคไม่ถูกต้อง แต่ยังสามารถสื่อสารได้
อ่านออกเสียง
เว้นวรรคตอน
ได้ถูกต้อง
อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้อย่างถูกต้อง
อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้ เป็นส่วนใหญ่
อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอนได้บ้าง         
อ่านออกเสียงคำศัพท์/ประโยค เว้นวรรคตอน           ผิดมาก
ความถูกต้อง
ของคำศัพท์ สำนวน และประโยค
อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้องตลอด                การอ่านออกเสียง
อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้อง โดยมีข้อบกพร่องเล็กน้อย
อ่านคำศัพท์ สำนวน และประโยคได้ถูกต้อง โดยมีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก
มีข้อบกพร่องในการอ่านคำศัพท์ ส่วนใหญ่อ่าน             ไม่ถูกต้อง

   คะแนนตัดสินระดับคุณภาพ
                                                  คะแนน                                         ระดับคุณภาพ
                                                  14  - 16                                              ดีมาก
                                                  11  - 13                                              ดี
                                                   8   - 10                                              พอใช้
                                                   1   -   8                                              ปรับปรุง






กิจกรรมเสนอแนะ
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.................................................. ผู้ตรวจ
                                                                               (...................................................)
                                                                        ผู้อำนวยการโรงเรียน.........................................
                                                                   วันที่........เดือน..................................พ.ศ. ..............






บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
  ผลการสอน.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                ปัญหา/อุปสรรค........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................   ข้อเสนอแนะ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                                                                               
ลงชื่อ.................................................ผู้สอน
(..............................................)
ตำแหน่ง ……………………………………..
 วัน………… เดือน ……………………..  พ.. …………………
            

นวัตกรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ

การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก - การทํา ปุ๋ยอินทรีย์

มาทำปุ๋ยใช้กันเถอะ

เชื่อหรือไม่ ว่าเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ที่เหลือจากในครัวหรือในสวนมิได้เป็นเพียงขยะไร้ค่า หากแต่สามารถนำมาผ่านขั้นตอนกระบวนการเพื่อผลิตปุ๋ยใช้ได้ในราคาถูก นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้วยังประหยัดเงิน แถมยังทำให้ต้นไม้ในสวนเจริญเติบโตงอกงามได้ด้วยมือของคุณเอง ลองนำสูตรและเคล็ดลับดีๆจากประสบการณ์การทำปุ๋ยโดยมืออาชีพทั้ง 3 ท่านไปใช้ดู รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด

ปุ๋ยหมัก
คุณภาวนา ลิกขนานนท์ นักวิชาการเกษตร 8 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร
"การ ใช้ปุ๋ยหมักนั้นไม่ควรมุ่งหวังว่าจะทดแทนธาตุอาหารได้เช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี หากแต่ช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย รากพืชเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้หาอาหารได้ง่ายขึ้น ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตตามไปด้วย"

วัตถุดิบ
1. เศษพืช เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ทั้งแห้งและสด 100 ส่วน
2. ปุ๋ยคอก 10 ส่วน
3. ปุ๋ยยูเรีย 1 ส่วน *
4. ผงซักฟอก ละลายน้ำเล็กน้อย *
* ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

ขั้นตอน
1. เตรียมพื้นที่วางกองปุ๋ยหมัก อาจขุดหลุมลึกราว 50 เซนติเมตร หรือใช้ถังซีเมนต์ซ้อนกัน 2-3 ชั้นวางตะแกรงในชั้นที่สองเพื่อให้เหลือที่ว่างชั้นล่างสุด เจาะช่องเปิดปิดเพื่อให้นำปุ๋ยหมักออกไปใช้ได้ง่าย
2. นำเศษกิ่งไม้ใบไม้ทั้งสดและแห้งผสมคลุกเคล้าให้ทั่ว หากใบไม้แห้งเกินไปใช้ผงซักฟอกผสมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ใบจับกับน้ำได้ดีขึ้น ความชื้นควรอยู่ในระดับที่เมื่อลองกำดูแล้วให้ความรู้สึกมากกว่าหมาดแต่ไม่ ถึงกับปียก
3. ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยยูเรียโรยสลับกันเป็นชั้น ๆ หรือผสมคลุกเคล้ากับวัสดุแล้วใส่ในภาชนะ
4. กดกองวัสดุให้อัดตัวกันแต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป เพื่อให้เกิดความร้อนภายในกอง หมั่นกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้มีการเติมอากาศเข้าไป
5. ระยะเวลาการย่อยสลายของวัสดุขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและกระบวนการที่เกิด ขึ้น อาจอยู่ในราว 1-2 เดือน ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีเข้ม เมื่อใช้มือบดสามารถขาดออกจากกันได้ง่าย มีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ ไม่ฉุนหรือเหม็นรุนแรง หากทำปุ๋ยหมักในถังซีเมนต์สามารถเก็บปุ๋ยที่ร่วงลงมาจากตะแกรงไปใช้ได้ทันที

คุณสมบัติ
ปุ๋ย หมักมีคุณสมบัติเด่นในการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศในดินดีขึ้น ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นในดิน รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้ต้นไม้ดูดน้ำและธาตุอาหารในดินได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนเร่งการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน คุณสมบัติเด่นอีกประการคือ ช่วยยึดธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า ๆ

การใช้งาน
ใส่รองก้นหลุม หรือโรยรอบ ๆโคนต้น แล้วพรวนดินให้ผสมคลุกเคล้ากันได้ดี ปริมาณที่ใช้สามารถใส่ได้ไม่จำกัด เนื่องจากไม่มีปริมาณธาตุอาหารสูงจนเป็นพิษกับพืช หากใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

Tips
1. เปลือกถั่ว ฟางข้าว ผักตบชวา ใบไม้แห้ง หญ้า สลายตัวได้เร็ว ส่วนขี้เลื่อย แกลบ ชานอ้อยข้าวโพด สลายตัวช้า จึงไม่ควรนำทั้งสองประเภทมาหมักรวมกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยที่ย่อยสลายไม่สม่ำเสมอ
2. ควรหมักหญ้าผสมกับวัสดุอื่น เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ เพราะหากใช้หญ้าอย่างเดียวจะเกิดการอัดตัวสานไปมาของหญ้าจนไม่มีอากาศภายใน กองวัสดุ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดจุลินทรีย์ได้

น้ำหมักฮอร์โมนพืช
คุณธนูศักดิ์ คงธรรม ข้าราชการบำนาญ
"สูตรที่ผมทำนั้นเน้นการใช้ผลไม้สดเป็นหลัก ได้น้ำหมักที่มีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตในแง่การออกดอกและติดผล"

วัตถุดิบ
1. ผลไม้สด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทอง และแครอท 5 กิโลกรัม
2. น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 500 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 แก้วน้ำ)
4. น้ำสะอาด

ขั้นตอน
1. ล้างผลไม้ให้สะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ผสมผลไม้ น้ำตาลอ้อย และหัวเชื้อจุลินทรีย์คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. นำผลไม้ที่ผสมแล้วบรรจุลงในถุงตาข่าย จากนั้นนำไปวางในถังพลาสติกมีฝาปิดขนาดบรรจุ 20 ลิตร ติดก๊อกน้ำไว้ด้านล่างเพื่อให้ไขน้ำหมักออกมาใช้ได้
4. ปิดฝาถังทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะมีน้ำไหลออกมาจากถุงตาข่าย และมีฝ้าสีขาว (หากเกิดฝ้าสีอื่นแสดงว่าการขยายเชื้อไม่ได้ผล แต่นำไปใช้รดต้นไม้ได้) เติมน้ำเพิ่มลงไป 1 เท่า กวนให้เข้ากัน ระวังอย่าให้แมลงลงไปไข่ เพราะจะทำให้เกิดหนอนได้
5. ปิดฝาทิ้งไว้ 30 วัน ระหว่างนั้นกวนเป็นครั้งคราว น้ำที่ได้จะมีสีค่อนข้างใส กลิ่นหอมอมเปรี้ยวคล้ายไวน์

คุณสมบัติ
มีรายงานผลการวิเคราะห์น้ำหมักที่ได้ว่ามีฮอร์โมนพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช กระตุ้นการออกดอกและติดผล

การใช้งาน
นำ น้ำหมักที่ได้ผสมน้ำในสัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ในช่วงก่อนแทงช่อดอก จะทำให้เกิดจำนวนช่อดอก ติดดอกและผลดีขึ้น โดยฉีดทรงพุ่มโดยตรง หรือรดโคนต้น สามารถนำไปใช้ในการเร่งรากกิ่งตอน และกิ่งปักชำได้ ข้อควรระวังคือสัดส่วนความเข้มข้นของน้ำหมักและน้ำหากผสมมากเกินไปจะส่งผลทำ ให้ใบพืชไหม้ได้ วิธีแก้คือใช้น้ำรดซ้ำเพื่อให้เจือจางลง

Tip
ทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์เองได้ง่าย ๆโดยนำปลือกสับปะรด 5 กิโลกรัมมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ผสมกับน้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม และน้ำมะพร้าวแก่ 1 1/2 ถ้วย บรรจุลงถุงตาข่ายใส่ถังปิดฝา ประมาณ 7 วัน หากมีฝ้าขาว กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่าใช้ได้ เติมน้ำตาลอ้อยและน้ำมะพร้าวเท่าเดิมลงไป แล้วเติมน้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วัน จึงนำมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งใช้แทนหัวเชื้ออีเอ็มได้

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ-ขยะหอม
คุณจิราภรณ์ คงธรรม อดีตพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี
"จุด เริ่มต้นของดิฉันคือ ต้องการลดจำนวนขยะในบ้าน ทั้งเศษผัก ผลไม้ที่เหลือจากการรับประทาน พอนำมาทำน้ำหมักใช้กับต้นไม้ก็เห็นผลด้วยตัวเองว่าต้นไม้มีการเจริญเติบโตดี จนตอนนี้กลายมาเป็นโครงการลดขยะในชุมชนที่ได้รับความสนใจจากคนในหมู่บ้านหัน มาปฏิบัติตามเช่นกันค่ะ"

วัตถุดิบ
1. เศษผักผลไม้ 3 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์
4. น้ำสะอาด

ขั้นตอน
1. นำเศษผักผลไม้ที่มีในครัวเรือนทั้งเปลือก ใบ ผล และเมล็ด ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้กากน้ำตาลซึ่งค่อนข้างข้นควรกวนให้เข้ากัน
2. นำใส่ถุงตาข่ายหรือถุงปุ๋ยวางลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้เรียบร้อย
3. ประมาณ 10 วันจะได้น้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา ให้เติมน้ำลงไป 5 เท่า ของปริมาตรน้ำจุลินทรีย์ที่ได้ กดให้จมน้ำ หากลอยขึ้นมาจะทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ เกิดกลิ่นเหม็นได้
4. สามารถเติมขยะสดเพิ่มลงไปได้ทุกวัน น้ำที่นำไปใช้ได้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ส่วนกากสามารถนำไปตากให้แห้งโรยเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไปได้

คุณสมบัติ
นอก จากมีธาตุอาหารที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้กลายเป็นปุ๋ยสำหรับพืช ทำให้ดินร่วนซุย และพัฒนาการเจริญเติบโตของพืช

การใช้งาน
ผสมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่น หรือรดลงในดินสัปดาห์ละครั้ง ข้อควรระวังคือหากการหมักยังไม่สมบูรณ์ ปริมาณกรดและน้ำตาลยังสูงอยู่จะส่งผลเป็นพิษต่อพืช

Tips
1. หากผสมสมุนไพร เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี หรือพริกขี้หนู โดยใส่ผงสมุนไพร 2 - 5 ช้อนโต๊ะ ลงไปในส่วนผสมของขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่แรกจะสามารถใช้เป็นสารไล่ แมลงได้ด้วย
2. สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในการบำบัดน้ำเสีย และกำจัดคราบไขมันอุดตันในท่อ โดยใช้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 :10 เทใส่ในท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดไขมัน บ่อน้ำเสีย ทิ้งไว้หนึ่งคืนแล้วจึงราดน้ำตาม
3. ไม่ควรเก็บปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ในที่ที่โดนแดด ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6 เดือน
4. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีธาตุอาหารค่อนข้างน้อย แต่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงโครงสร้าง และคุณภาพดิน ดังนั้นจึงอาจใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงต้นไม้

คุณรู้หรือไม่
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ? ปุ๋ยชีวภาพ
ความ หมายของ ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยนั้นต้องมีสิ่งมีชีวิตและทำหน้าที่สร้างธาตุอาหารให้ดิน เช่น ไรโซ เบียม (Rhizobium spp.) และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มายคอร์ไรซา (Mycorrhiza spp.) ช่วยดูดซึมฟอสฟอรัส และแบซิลลัส (Bacillus spp.)ให้ธาตุโพแทสเซียม เป็นต้น ปุ๋ยชีวภาพควรมีข้อความระบุบนฉลากดังนี้ ชื่อจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตต่อน้ำหนักปุ๋ย ชนิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เปอร์เซ็นต์ความชื้น วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือตามที่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่าน้ำหมักชีวภาพนั้น แม้จะมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบ แต่หน้าที่หลักคือย่อยสลายเศษซากพืช หรืออินทรียวัตถุในดิน ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น โดยที่ตัวมันเองมีธาตุอาหารอยู่เพียงเล็กน้อย การเรียกปุ๋ยเหล่านี้ว่า "ปุ๋ยชีวภาพ" จึงไม่ถูกต้องนัก


ที่มา http://www.baanlaesuan.com

ประวัติและความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

                     คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้วจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาดทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่ 1 พ.ศ. 2489-2501
           เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี                                    
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
  • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 2502-2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะเริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ ดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
ยุคที่ 3 2507-2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
  • ประมาณ 1,000 เท่า)   ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4  2513 - 2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
  • ช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS) 

ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
 
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

ข้อมูลจาก www.sanambin.com
http://www.sglcomp.com/in